เคล็ดลับดูแลดวงตา

   นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากกรรมพันธ์และอายุแล้ว เราสามารถถนอมดวงตาโดยการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา อาทิเช่น การสวมใส่แว่นตากันแสงยูวีทุกครั้ง เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมบริเวณที่มีแสงแดดแรงๆ หลีกเลี่ยงการใช้ดวงตา มากเกินไป หลีกเลียงการดูโทรทัศน์ หรือเล่นเกมส์ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมง ติดฟิมล์กันแสงสีฟ้า และควรให้ความสำคัญกับสารอาหารในชีวิตประจำวัน ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยถนอมดวงตาให้อยู่คู่คุณ ไปอีกนาน

เรามารู้จักสารอาหารเพื่อสุขภาพดวงตาจากผลวิจัยทางการแพทย์ที่มีมายาวนานกัน

45

1.วิตามินและแร่ธาติชนิดรวม (Vitamins and Minerals)

   วิตามินที่ช่วยในการทำงานของดวงตาลำดับต้นๆคงหนีไม่พ้น วิตามินเอ (Vitamin A) และเบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene) ซึ่งจำเป็นต่อการมองเห็นโดยเฉพาะเวลากลางคืน

   วิตามินเอในรูปของเรตินอล (Retinol) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดสีที่เรียกว่าโรดอฟซิน (Rhodopsin) ซึ่งอยู่ที่จอประสาทตา โรดอฟซินจะมีความไวต่อแสงแม้เพียงเล็กน้อย จึงจำเป็นอย่างมากในการมองเห็นเวลากลางคืน                                                                                                  นอกจากนี้ วิตามินเอยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก

   วิตามินบี (Vitamin B) พบว่าการขาดวิตามิน – ปี12 ( Vitamin-B12) มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะโรคต้อหินมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวิตามินเอจากตับไปที่จอประสาทตาอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการขาดธาตุสังกะสี อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็นและเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกอีกด้วย

Lutein-see-agel

2.สารลูทีน (Lutein)

   เป็นสารธรรมชาติในกลุ่ม Carotenoids ซึ่งเป็นวัตถุสีเหลืองเข้ม พบได้ในพืชที่มีสีเหลืองรวมไปถึงผักใบเขียวเข้มต่างๆ อาทิเช่น ผักโขม ข้าวโพด ดอกดาวเรือง เป็นต้น และพบที่เซลล์บริเวณ Macula ในจอประสาทตาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการมองเห็นภาพที่อยู่ตรงกลางของส่วนรับภาพ

   นอกจากนี้ยังช่วยกรองแสงสีน้ำเงินซึ่งเป็นแสงที่ต่างจากสีอื่นตรงที่ว่า แสงสีน้ำเงินจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอทีวีและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

   นอกจากนี้ลูทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยปกป้องดวงตาจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในดวงตาซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ขนาดรับประทานที่แนะนำ 20-40 มก.ต่อวัน

scaled_mixed_berries_400x0

3.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (Berries)

   ผลไม้ในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงดวงตาอย่างมากโดยเฉพาะบิลเบอรร์รี่ (Bilberry)
เนื่องจากมีสารสำคัญอย่าง Anthocyanosides ที่ช่วยปกป้องผนังหลอดเลือด และหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ที่อยู่ในดวงตารวมถึงเพิ่มการไหลเวียนเลือดของเส้นเลือดฝอยในตา

   นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากช่วยป้องกันการทำลายจากสารอนุมูลอิสระซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ต้อกระตก และอาหารตาบอดกลางคืน
การรับประทานลิลเบอร์รี่เป็นประจำนอกจากจะช่วยในเรื่องของสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว
ยังช่วยทำให้ดวงตาของคุณสดใส มีน้ำหล่อเลี้ยงแลดูมีสุขภาพดีอยู่เสมออีกด้วย

ขนาดรับประทานที่แนะนำของสารสกัดบิลเบอร์รี่ 60-180 มก.ต่อวัน

Essential-Fatty-acid

4.กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid)

   สำหรับกรดไขมันโอเมก้า – 3 ชนิด DHA จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง และระบบประสาทตาที่ดี โดยปกติน้ำมันชนิดนี้จะพบมากในน้ำมันปลาทะเล (Fish Oil) ซึ่งช่วยชะลอการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยทำให้ดวงตามีความชุ่มชื้น ป้องกันอาการตาแห้ง โดยเฉพาะผู้ที่สวมใสคอนแทกส์เลนส์เป็นประจำ ดังนั้นกรดไขมันจำเป็นดังกล่าว จำมีส่วนช่วยให้ดวงตามีสุขภาพ

ขนาดรับประทานที่แนะนำของ DHA 250-500 มก.ต่อวัน

ทั้งหมดคือสารอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของดวงตา รวมไปถึงแนวทางในการปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาของคุณ และแน่นอนว่าปัจจัยเหล่านี้ย่อมช่วยถนอมให้คุณมีดวงตาคู่สวยพร้อมกับสุขภาพของดวงตาที่ดีไปอีกนานแสนนาน


 Click ข้อมูลเพิ่มเติม…

แพ้แสง-ตาแห้ง-แสบตา-บำรุงสายตา-ตาพร่า-วุ้นในตาเสื่อม-ลูทีน-เบต้าแคโรทีน-บิลเบอร์รี่ -เบาหวานขึ้นตา-see-agel-ลดตาแห้ง-ปวดตา-วุ้นในตาเสื่อม-ราคา-บำรุงตา-เบาหวาน-ขึ้นตา-สายตา-เลสิค-วุ้นในตาเสื่อม-ใยดำ-ลอยในตา-ใช้สายตาเยอะ-วุ้นในตาเสื่อม-แสงแว๊บ-ตาพร่า-แพ้แสง-ลดอาการตาแห้ง-แสบตา-ปวดเบ้าตา-ลูทีน-บิลเบอร์รี่-บำรุง-ดวงตา